Make your own free website on Tripod.com

Posted by on March 11, 2020

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการเร่งด่วน ดูแลภัยแล้งและกระตุ้นเศรษฐกิจสู้ไวรัสโควิด ด้วยการ คืนเงินค่ามิเตอร์ไฟฟ้า ตรึงอัตราค่าเอฟทีในอัตรา -11.60 สตางค์ต่อหน่วย และลดค่าไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมดึงเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าร่วมสู้ภัยแล้ง โดยมาตรการดังกล่าวทำให้เม็ดเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 45,000 ล้านบาท

คืนเงินค่ามิเตอร์ไฟฟ้า

การคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าที่คืนให้กับผู้ใช้ไฟ มีการทยอยคืนเงินตั้งแต่รอบบิลเดือนมีนาคมนี้ หรือตั้งแต่เมษายนเป็นต้นไป รายละเอียดการคืนเงินได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยเงินค่ามิเตอร์ไฟฟ้านั้น มีอัตราต่างกันออกไปแล้วแต่ประเภทกิจการโดยเฉลี่ยก็มีตั้งแต่ 2,000-3,000 บาทต่อมิเตอร์ ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ารวมประมาณ 21.5 ล้านราย สามารถใช้สิทธิในการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่วางไว้ตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ซึ่งมีวงเงินรวมที่จะมีสิทธิขอคืนประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยจะสามารถเริ่มทยอยคืนได้ตั้งแต่เดือน มี.ค.2563

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

อัตราเงินคืนค่าประกันมิเตอร์

ทั้งนี้ เงินคืนค่าประกันมิเตอร์ขึ้นอยู่กับแต่ละรายที่วางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไว้กับการไฟฟ้าฯ มีตั้งแต่ 300 บาท 2,000 บาท 4,000 บาท และ 6,000 บาทมีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้
-มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)
-มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้)
-มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)
-มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท
-มิเตอร์ขนาด 30(100) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 12,000 บาท (ประชาชนไม่นิยมใช้ จะมีประชาชนส่วนน้อยที่ได้รับอัตราเงินจำนวนนี้)

ลดค่าไฟฟ้าเอฟที

การลดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที ในอัตรา -11.60 สตางค์ต่อหน่วย หรือ ลดลง 11.60 สตางค์ต่อหน่วย จากค่าไฟฟ้าฐาน คิดเป็นวงเงินประมาณ 4,534 ล้านบาท และลดค่าไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 3 ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.2563) รายละเอียดส่วนลดจะปรากฏในบิลที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับ การบริหารจัดการในส่วนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่ได้นำเงินจากการไฟฟ้าลงทุนไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และเงินช่วยเหลือจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) อีก 4,800 ล้านบาทรวมประมาณเกือบ 10,000 ล้านบาท

ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้า

คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้าบิลเดือนเมษายน-พฤกษภาคม 2563 ให้นานได้ถึง 6 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชนประเภทบ้านเรือนที่ใช้อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก และกิจการโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยกเว้นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ ตลอดจนไม่คิดค่าปรับ (ดอกเบี้ย) ตลอดระยะเวลาการผ่อนผัน ไม่มีการงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว และผ่อนผันได้ไม่เกิน 6 เดือนของแต่ละรอบบิล ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือน เม.ย.-พ.ค.2563 ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

คืนค่ามิเตอร์ ลดค่าไฟฟ้า สู้ภัยแล้งและไวรัสโควิด

สร้างงานชุมชน แก้ปัญหาภัยแล้ง

การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ในพื้นที่ 72 จังหวัด วงเงินรวม 4,064 ล้านบาท โดยให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินภายใต้โครงการชุมชนปี 2563 จำนวนกว่า 6,600 โครงการ วงเงินรวม 2,494 ล้านบาท เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในพื้นที่และพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นในด้านสาธารณสุข อาชีพ การศึกษา และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ พิจารณาทบทวนโครงการชุมชนภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จ้างแรงงาน จัดซื้อหรือก่อสร้างที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ของผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นภายในประเทศ การศึกษาดูงานภายในประเทศแทนการศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ ให้นำงบประมาณเหลือจ่ายในปี 2562 และ 2563 วงเงินรวม 1,570 ล้านบาท มาใช้ประโยชน์เพิ่มเติมในการเสนอโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการจ้างงานในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

Cr.เดลินิวส์,ThaiPBS,The Bangkok insight,

Comments

Be the first to comment.

Leave a Reply


You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

*